เล่านิทาน

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่4



1.วันนี้มีการนำเสนอPOWER POINTเกี่ยวกับเนื้อหาในหัวข้อต่างๆที่ได้รับมอบหมายPERSENT เป็นกลุ่มทั้งหมด 5กลุ่ม ดังนี้
1ความหมายของภาษา
2ทฤษฏีทางสติปัญญา
3จิตวิทยาการเรียนรู้
4การสอนภาษาแบบองค์รวม
5หลักการ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กสรุปเนื้อหาหลังจากการฟังการนำเสนอทฤษฏีเพียเจต์ กล่าวว่าสิ่งเร้ามากระตุ้นส่วนการทำงานของสมองนั้น

บันทึกครั้งที่4

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่3

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร

แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน

ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ

เด็กจะมีพัฒนาการแบ่งได้เป็น 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่1 ขีดเขี่ย
ขั้นที่2 เขียนเส้นตามยาวซ้ำๆกัน
ขั้นที่3 เริ่มเขียนได้มีรูปร่างคล้ายตัวอักษร
ขั้นที่4 เขียนตัวอักษรและสัญลักษณ์ของคำเริ่มต้นได้สัมพันธ์กัน
ขั้นที่ 5 สร้างตัวสะกดเอง
ขั้นที่ 6 สามรถเขียนได้ถูกต้องตามแบบแผน